จริง ๆ แล้วมีอีกหลายองค์ประกอบที่เราต้องเรียนรู้หากเราต้องการเป็นนักเทรดแบบเชิงเทคนิค ซึ่งคงจะศึกษากันไม่มีวันจบสิ้น นักเทรดที่รักการเรียนรู้จะได้เปรียบกว่ามาก การที่เรารู้มากแต่ไม่ได้นำมาใช้ก็ไม่เสียหายอะไร ถือว่าเป็นความรู้ประดับตน ในบทความนี้เรามาเรียนรู้เพิ่มเติมกันอีกสักหน่อยครับ
เส้นแนวรับในเทรนขาขึ้น
ส่วนมากเส้นแนวรับนี้ มักจะถูกลากตัดผ่านบริเวณที่เป็นจุดย้ำฐานของราคา ซึ่งแนวบริเวณนั้นมักจะเป็นช่วงแนวรับที่มีความแข็งแกร่งค่อนข้างสูง ด้วยความที่เส้นแนวรับชนิดนี้เป็นเส้นที่มีความแข็งแรง แต่หากราคาหุ้นลดลงผ่านเส้นแนวรับนี้ลงไปเมื่อไรราคาหุ้นมักเกิดการไหลลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว และหลายๆครั้งการหลุดผ่านเส้นแนวรับนี้ลงไป มักจะชอบมีการลดลงเป็นลักษณะของการเปิด gap กระโดดลงอีกด้วยซึ่งเส้นชนิดนี้ก็คล้ายๆกันกับเส้นแนวตั้งแบบเป็นเส้นขวางแนวนอน คือมันจะแสดงให้เราได้เห็นถึงเทรนด์ไซด์เวย์
เทรนด์ไซด์เวย์
เกิดขึ้นได้ก็เพราะราคามีการลงมาทดสอบเส้นแนวรับในจุดนี้หลายครั้ง ไม่ว่าเทรนด์ที่ไหลลงมาก่อนหน้าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ตาม แต่แนวรับสามารถรับได้อยู่ตลอดก็ให้ระวังว่าเทรนที่กำลังจะตามมาจะกลายเป็นเทรนขาขึ้นเอาไว้ด้วย ถ้าเทรนด์ก่อนหน้าที่จะเกิดไซด์เวย์เป็นขาลง หากราคาเกิดปรับตัวลงมาทดสอบเส้นชนิดนี้หลายๆครั้งแล้วไม่ผ่าน ก็ให้ระวังจะเกิดการกลับเทรนด์เป็นขาขึ้น แต่ถ้าหากเทรนด์ก่อนหน้าเป็นขาขึ้นอยู่ เมื่อเกิดการเปลี่ยนเทรนด์เป็นไซด์เวย์ ราคาลงมาทดสอบเส้นแนวรับชนิดนี้แล้วไม่หลุดหลายครั้ง ก็ให้ระวังว่าหลังจบการไซต์เวย์แล้วยังคงเป็นเทรนขาขึ้นต่อไป
เส้นแนวรับในเทรนขาลง
เส้นชนิดนี้ เป็นแบบเส้นเดียวโดดๆ มักจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมในใช้งานเท่าไร ส่วนมากที่เราพบเห็นการใช้งานเส้นลักษณะนี้ก็มาจากพบกันในรูปแบบของเส้นคู่ขนาน แต่สำหรับแบบเส้นเดียวโดดๆ มักจะไม่ได้รับความนิยมในการใช้งานจริง แต่หากใครอยากลากเส้นขึ้นเพื่อใช้ประมาณการลดตัวของราคาหุ้น ก็ใช้ได้โดยไม่ผิดหลักการแต่อย่างใด
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น